การใช้ DEET: วิธีการทำงานของสเปรย์กันแมลง
เรียนรู้ความหมายของ DEET และวิธีการทำงานของสเปรย์กันแมลง เพื่อให้คุณสามารถปกป้องครอบครัวของคุณจากยุงได้ดียิ่งขึ้น
DEET คืออะไร และ OFF!® ช่วยป้องกันยุงได้อย่างไร
ไม่มีใครอยากถูกยุงรบกวนในช่วงเวลาที่ออกไปนอกบ้าน โชคดีที่มีสเปรย์กันยุงหลายชนิดที่สามารถปกป้องคุณได้อย่างที่คุณต้องการ สเปรย์กันยุงแบบไหนที่เหมาะกับคุณและครอบครัว เราพร้อมช่วยคุณ
สเปรย์กันยุงทุกชนิดได้ผลหรือไม่
น่าเสียดายที่สเปรย์กันแมลงทุกชนิดไม่ได้ถูกผลิตขึ้นมาเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ คุณจึงต้องแน่ใจว่าสเปรย์กันยุงที่คุณใช้นั้นมีส่วนผสมที่ผ่านการทดสอบและพิสูจน์แล้วว่าสามารถกันยุงได้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแนะนำสเปรย์กันยุงที่มีตัวยาสำคัญ เช่น DEET เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงที่อาจเป็นพาหะนำโรค เช่น โรคไข้เลือดออกเดงกีและโรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น
DEET คืออะไร
ไดเอทิลโทลูเอไมด์ หรือเรียกว่า DEET ซึ่งพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1944 โดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ เป็นตัวยาสำคัญในสเปรย์กันแมลงหลายชนิด DEET มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุง เห็บ หมัด และแมลงกัดต่อยอื่น ๆ อีกมากมาย
DEET ทำงานอย่างไร
DEET ทำงานเพื่อสร้างความสับสนและรบกวนประสาทรับกลิ่นที่หนวดของยุง ซึ่งป้องกันไม่ให้ยุงมาเกาะที่ผิวและกัด ประสาทรับกลิ่นเหล่านี้จะใช้เพื่อตรวจจับความร้อนในร่างกาย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสารเคมีทางผิวหนัง เมื่อออกหาเหยื่อ
ฉันต้องได้รับ DEET ปริมาณเท่าใดจึงจะได้รับการปกป้อง
ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่คุณจะทำและระยะเวลา ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์ DEET สูงเท่าใด ผลิตภัณฑ์ก็จะช่วยปกป้องนานขึ้นเท่านั้น กล่าวคือ เปอร์เซ็นต์ของ DEET ไม่ได้เพิ่มพลังการป้องกัน เพียงช่วยเพิ่มระยะเวลาที่จะปกป้องเท่านั้น
สำหรับข้อมูลอ้างอิง สเปรย์กันยุงที่มี DEET 15% มักจะป้องกันยุงได้นานถึง 4 ชั่วโมง ในขณะที่สเปรย์กันยุงที่มี DEET 25% มักจะป้องกันยุงได้นานถึง 8 ชั่วโมง
โปรดดูที่ โปรแกรมค้นหาผลิตภัณฑ์ของ OFF!® เพื่อค้นหาสเปรย์กันยุงที่เหมาะกับคุณ
ครีมกันแดดจะหยุดการทำงานของสเปรย์กันยุงหรือไม่
ไม่ แม้ว่า DEET จะอาจลดการทำงานของครีมกันแดด ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแนะนำให้ทาครีมกันแดดก่อนแล้วจึงตามด้วยสเปรย์กันแมลง ทาทั้งสองผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำบนฉลาก
ตอนนี้คุณทราบแล้วว่าสเปรย์กันแมลงทำงานอย่างไร ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมเพื่อใช้เวลาที่พื้นที่กลางแจ้งให้คุ้มที่สุด